ตั้งค่า PHP Setting ใน DirectAdmin

ตั้งค่า PHP Setting ใน DirectAdmin

  1. 1. เมื่อเข้าใช้งาน DirectAdmin ตามคู่มือ https://help.ruk-com.in.th/topic/8809/ เรียบร้อย จากนั้นไปที่เมนู Domain Setup ในหัวข้อ Your Account

2. จากนั้นคลิกที่โดเมนหลักเพื่อทำรายการ

3. คลิก PHP Setting

4. การปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ โดยสามารถดำเนินการปรับแต่งได้ดังนี้

     4.1 display_errors : กำหนดให้แสดงข้อผิดพลาดของ PHP บนหน้าเว็บ (เหมาะสำหรับการพัฒนา)

     ค่า:

          On: แสดงข้อผิดพลาด (แนะนำเฉพาะในระหว่างพัฒนา)

          Off: ไม่แสดงข้อผิดพลาด (แนะนำสำหรับระบบที่ใช้งานจริง)

 

     4.2 error_reporting : กำหนดระดับของการรายงานข้อผิดพลาด

     ค่า:

          ~E_ALL: แสดงข้อผิดพลาดทั้งหมด

          ค่าอื่น ๆ สามารถปรับให้เลือกข้อผิดพลาดเฉพาะ เช่น E_WARNING, E_NOTICE

 

     4.3 file_uploads : เปิดหรือปิดการอัปโหลดไฟล์ผ่าน PHP

     ค่า:

          On: อนุญาตการอัปโหลดไฟล์

          Off: ปิดการอัปโหลดไฟล์

 

     4.4 include_path : เส้นทางที่ PHP จะค้นหาไฟล์ (เช่น ไฟล์ include หรือ require)

     ค่า:

          ค่าเริ่มต้นมักเป็น .;/path/to/php/pear (เปลี่ยนตามความจำเป็น)

 

     4.5 log_errors : บันทึกข้อผิดพลาดของ PHP ลงในไฟล์ Log

     ค่า:

          On: บันทึกข้อผิดพลาด

          Off: ไม่บันทึกข้อผิดพลาด

 

     4.6 mail.force_extra_parameters : เพิ่มพารามิเตอร์พิเศษให้กับฟังก์ชัน mail() ของ PHP

     ค่า: ปล่อยว่างไว้หรือใส่ค่าตามการใช้งาน เช่น -f [email protected]

 

     4.7 max_execution_time : เวลาสูงสุด (วินาที) ที่สคริปต์ PHP จะทำงานก่อนหยุด

     ค่า: ค่าเริ่มต้นคือ 30 สำหรับงานทั่วไป หากเป็นงานหนัก เช่น การประมวลผลไฟล์หรืออัปเดตฐานข้อมูลขนาดใหญ่ อาจเพิ่มเป็น 300 วินาที

 

     4.8 max_input_time : เวลาสูงสุด (วินาที) ที่สคริปต์จะวิเคราะห์ข้อมูล Input (GET/POST/Request)

     ค่า: ค่าเริ่มต้นคือ 60

 

     4.9 max_input_vars : จำนวนตัวแปร Input สูงสุดที่ PHP สามารถจัดการได้

     ค่า: ค่าเริ่มต้นคือ 1000 สำหรังานทั่วไป หากมีฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น ส่งตัวแปรเกิน 1000 ตัว ให้ปรับเพิ่มเป็น 3000 หรือมากกว่า

 

     4.10 memory_limit : หน่วยความจำสูงสุดที่สคริปต์ PHP ใช้งานได้

     ค่า:

          ค่าแนะนำเริ่มต้นคือ 128M สำหรับงานทั่วไป

          สามารถเพิ่มเป็น 256M หรือ 512M สำหรับระบบที่ต้องการหน่วยความจำสูง

 

     4.11 post_max_size : ขนาดข้อมูลสูงสุดที่ PHP ยอมรับในคำสั่ง POST

     ค่า:

          ค่าเริ่มต้น: 8M สำหรับงานทั้วไป หรือใช้ 16M หรือมากกว่า หากอัปโหลดไฟล์ขนาดใหญ่

          ค่านี้ควรมากกว่า upload_max_filesize

 

     4.12 register_globals : เปิดหรือปิดการประกาศตัวแปรอัตโนมัติ (ค่าที่ได้รับจาก URL/ฟอร์ม)

     ค่า:

          On: เปิดใช้งาน (ไม่แนะนำ เพราะอาจมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย)

          Off: ปิดการใช้งาน

 

     4.13 session.gc_maxlifetime : เวลาชีวิตสูงสุด (วินาที) ที่ Session มีอยู่ก่อนจะถูกลบ

     ค่า: ค่าเริ่มต้นคือ 1440 วินาที (24 นาที) สำหรับงานทั่วไป ใช้ค่าสูงกว่าสำหรับระบบที่ต้องการ Session ยาวนาน เช่น 7200 (2 ชั่วโมง)

 

     4.14 short_open_tag : อนุญาตการใช้ Short Tag (<? แทน <?php)

     ค่า:

          On: เปิดใช้งาน (ควรเปิดเฉพาะในสคริปต์ที่ต้องการ)

          Off: ปิดการใช้งาน

 

     4.15 upload_max_filesize : ขนาดไฟล์สูงสุดที่สามารถอัปโหลดได้ผ่าน PHP

     ค่า:

          ค่าเริ่มต้นคือ 2M สำหรับงานทั่วไป หรือใช้ 16M หรือมากกว่า หากอัปโหลดไฟล์ขนาดใหญ่

          ควรตั้งค่านี้ให้น้อยกว่า post_max_size

 

     4.16 zlib.output_compression : เปิดหรือปิดการบีบอัด Output ของ PHP

     ค่า:

          On: บีบอัด Output (ช่วยลดขนาดไฟล์)

          Off: ไม่บีบอัด

สำหรับบริการแชรโฮส

php_value max_input_vars : 1000 ไม่เกิน 5000
php_value max_execution_time : 180 ไม่เกิน 300
php_value memory_limit : 128 ไม่เกิน 256M
php_upload_max_filesize : 64 ไม่เกิน 256M
php_value post_max_size : 16M
php_value max_input_time : 180M

แนะนำให้ปรับไม่เกินรายละเอียดข้างต้น เนื่องจากบริการแชร์โฮสเป็นบริการที่แชร์ทรัพยากรกับ User ท่านอื่น ๆ หากมีการใช้งานเกินกว่านี้ User ท่านอื่น ๆ ภายในเครื่องอาจได้รับผลกระทบ