ก่อนที่จะเริ่มบทความนี้แนะนำให้ศึกษาและทำความเข้าใจการทำงานของ Platform จากบทความ Getting Started ก่อน
เริ่มต้นให้ทำการ Create Project และเลือกภาษาที่จะใช้พัฒนาเป็น Python Application
หลังจากสร้าง Environment เรียบร้อยแล้วจะได้รายละเอียดดังนี้
เนื่องจากตัว Framework ได้มีการ pack ตัว Web Server (WSGI Toolkit) มาเรียบร้อยแล้วเราจึงไม่ต้องใช้ตัว Apache ที่ Start มากับ Platform ในที่นี้ผมจะทำการเปลี่ยน Port ของ Web Server ที่เป็นค่า Default ไปทำงานพอตอื่น และจะเอา Project ของ Flask มาทำงานที่พอต 80 แทนเพื่อทดสอบ Framework
แก้ไขค่า Config ของ Web Server ได้ง่ายๆด้วยเมนู Config
จากตัวอย่างผมจะเปลี่ยน Port Default ที่ทำงานอยู่ 80 ให้ไปทำงานที่ Port 88 แทน
หลังจากแก้ไขค่า Config แล้วจำเป็นจะต้อง reload config โดยทำการกดที่ปุ่ม restart node
หากทุกอย่างเรียบร้อย ตอนนี้จะไม่สามารถเข้าถึง Environment ได้
ขั้นต่อไปจะลองเอา Flask Framework มา Deploy อย่างง่าย โดยจะทดสอบโดยใช้ Deploy Project ผ่าน Git repository ที่ทาง อาจารย์ อนิราช มิ่งขวัญ ได้จัดเตรียมไว้ให้
ให้ทำการเลือก Add Repository และเพิ่ม URL ด้านล่างไปสำหรับทดสอบ
https://github.com/FITM-KMUTNB/RKFlask.git
ในขั้นตอนการ Deploy จะแยกเป็น 3 ขั้นตอน
- Pre คือก่อนจะเริ่ม Clone Project เราสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นหรือรันคำสั่งที่ต้องการได้
- Deploy คือขั้นตอนนำ Code ของ Project มาวางไว้ใน Directory ที่เราต้องการ เพื่อใช้งาน
- Post คือหลังจาก Deploy เสร็จจะให้ทำงานอะไรต่อบ้าง
ตัวอย่าง Pre Deploy ผมได้ทำการติดตั้ง Flask Framework ลงบนเครื่องเซิฟเวอร์ด้วยคำสั่ง pip install flask
และสุดท้ายตัว Post Deploy ผมได้ทำการทดสอบรัน Flask แบบง่ายผ่านคำสั่ง nohup
nohup python /var/www/webroot/ROOT/HelloCloud.py > /dev/null 2>&1 &
กด Apply Deploy เพื่อเริ่มการ Deploy
ทดสอบเข้าใช้งานผ่าน ผ่าน Environment name
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทดสอบรัน Application ได้แล้ว
ในส่วนของการ Deploy และ Start Program จากตัวอย่างที่แสดงไปเป็นเพียงการทำสอบเพื่อให้เห็นผลลัพท์ของ Framework Flask เท่านั้น อาจจะยังไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ทางผู้เขียนเพียงเพื่อทดสอบให้เห็นถึงการใช้งานและให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้คำสั่ง Linux และคำสั่งต่างๆเพื่อให้ใช้งานร่วมกับ Framework ได้เท่านั้น